วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กลากเกลื้อนน้ำนม





กลากเกลื้อนน้ำนม


กลากน้ำนมถือว่าเป็นโรคอย่างหนึ่งค่ะสำหรับลูกน้อย ถึงแม้แต่คุณแม่จะดูแลเรื่องความสะอาดมากแค่ใหนก็อาจเกิดขึ้นกับลูกรักของเราได้ กลากเกลื้อนน้ำนม คือโรคที่เกิดจากเม็ดสีเมลานินที่ผิงหนังบางส่วนลดจำนวนลงโดยไม่ทราบสาเหตุไม่มีอาการเจ็บแต่ลูกน้อยจะคันและก็เกาคะ ยิ่งคุณแม่ปล่อยลูกเล็บยาวเกาบ่อยก็จะมีผลข้างเคียง แผลอักเสบ รื้อรัง ขยายขึ้นเรื่อยๆ ไม่ดีต่อผิวเดี๋ยวลูกรักของเราไม่หล่อไม่สวยนะค่ะ
โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ได้เกิดจากน้ำนมและไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคหรือเชื้อราแต่อย่างใด กลากเกลื้อนน้ำนมมักจะเป็นเรื้อรัง เด็กบางคนเป็นเพียงแค่ครั้ง สองครั้งแล้วหาย เด็กบางคนเป็นๆหายๆติดต่อกัน 1-2ปีแต่ไม่เป็นอันตรายคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจมากหนัก พบมากในเด็กทั้งหญิงและชาย


ลักษณะอาการ


ลักษณะเหมือนน้ำนมแห้ง เป็นวงด่างขาวเป็นขุยๆ สีผิวจางกว่าบริเวณอื่น ขนาดประมาณ0.5 - 4 เซนติเมตร มีขุย ไม่มีอาการเจ็บแต่คัน อาจเกิดขึ้นบริเวณ แขน หน้าผาก แก้ม ปาก คอ และไหล่
แต่อาการมักจะเป็นมากขึ้นหลังตากแดด ตากลม หรือในหน้าร้อนสามารถพบร่วมกับโรคผื่นและภูมิแพ้ผิวหนัง


สาเหตุ


- อาจเกิดมาจากการแพ้นมผงดัดแปลงเมื่อทารกหรือเด็กที่มีน้ำนมเปื้อนตามร่างกายและปล่อยให้แห้งโดยไม่มีการเช็ดหรือทำความสะอาด

- อาจเกิดจากน้ำลาย เป็นปกติอยู่แล้วที่ลูกน้อยลายไหลคุณแม่ควรหมั่นเช็ดบ่อยๆอย่าปล่อยให้ไหลแล้วแห้งเอง ไม่ดีนะค่ะคุณแม่ วิธีง่ายควรผูกผ้าอ้อมไว้ที่คอลูกจะได้ง่ายต่อการเช็ดและไม่เปื้อนเสื้อลูกด้วย

- อาจเกิดจากผิวแห้ง โดนลม โดนแดด เป็นเวลานานหรือบ่อยๆ
- ลูกน้อยขาดสารอาหาร




วิธีรักษา

- ควรใส่ใจในเรื่องของความสะอาดเป็นอันดับหนึ่ง

- รักษาผิวให้ชุ้มชื้นอยูู่เสมอ เช่น ทาครีมหรือโลชั่นที่มี มอยเจอร์ไรเซอร์

- หากคุณแม่อยากรักษาแบบธรรมชาติ ก็มีวิธีนะค่ะ โดยใช้น้ำนมของคุณแม่เองทาบริเวณที่มีอาการทุกวันจนหาย  หรือ ใช้ดอกมะลินำไปแช่เย็นขยี้เบาทาบริเวณที่มีอาการ

- ไม่ควรซื้อยาประเภทแสบร้อนหรือขี้ผึ้งเบอร์ต่างๆมาทาอาจทำให้ไหม้เกรียมหรือหนังแห้งเป็นผืนดำ



     กลากน้ำนมสามารถหายได้เองแต่จะเป็นๆหายเป็นระยะเลลานานไม่จำเป็นต้องรักษา โดยทั่วไปวิธีรักษาโดยหลักทาครีมที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์
     โดยปกติแพทย์จะเป็นผู้สั่งในกรณีที่กลากน้ำนมเป็นสีแดงมากขึ้นหนาและไม่หายขาดเท่านั้น






ขอบคุณข้อมูล
www.maamor.com
www.mamaexpert.com
www.maerakuke.com

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

ลูกน้อยเป็นไข้ตัวร้อน



ลูกน้อยตัวร้อนเป็นไข้


                เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไม่อยากเจอกับเหตุการณ์นี้ คือลูกน้อยเป็นไข้ตัวร้อน เด็กที่มีไข้จะมีอาการไม่สาบายตัว พอไม่สบายตัวลูกน้อยก็งอแง ร้องไห้ เอาล่ะสิค่ะเราพ่อแม่ก็ไม่เป็นอันทำอะไร ทั้งเป็นห่วงลูก สงสารลูก สารพัดคนเป็นพ่อเป็นแม่จะวิตกกังวล ดังนั้นเราพ่อแม่ควรมีความรู้เบื้องต้นเตรียมตัวรับมือเวลาลูกน้อยไม่สบาย อย่างที่คุณพ่อคุณแม่คงรู้ดี การป้อนยาและการวัดไข้เด็กนั้นยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน จะเลือกวิธีการวัดไข้เด็กแบบไหนถึงจะดี ก็ขึ้นอยู่กับอายุ และความร่วมมือของเด็กแต่ละคน เด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน การวัดไข้ทางก้นจะแม่นยำที่สุด เครื่องวัดแบบวัดทางหูไม่แนะนำให้ใช้เพราะว่าหูลูกยังเล็กมากอยู่ เด็ก อายุระหว่าง 3 เดือน – 4 ขวบ แนะนำให้ใช้เครื่องวัดแบบวัดทางก้น หรือ ทางหู คุณพ่อคุณแม่สามารถวัดไข้จากใต้รักแร้ก็ได้ แต่ความแม่นยำจะน้อยกว่า

                เด็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป แนะนำให้ใช้เครื่องวัดแบบดิจิทัลวัดอุณหภูมิจากทางปาก ถ้าเด็กยอมทำ อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีอาการไอ หรือ หายใจทางปากเพราะคัดจมูก อาจจะไม่สามารถใช้เครื่องวัดได้นานพอที่จะวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ ในกรณีนี้ก็คงต้องวัดผ่านทางหู หรือ ใต้รักแร้แทนก็ได้ค่ะ

**ในกรณีของน้องมิลิน น้องตัวร้อนเป็นไข้เพราะฟันน้ำนมขึ้นมีไข้ในระดับต่ำ ตัวก็ไม่ร้อนมากน้องงอแงบ้างเป็นบางช่วงเวลา อาจเนื่องมาจากความเจ็บปวดของเหงือกเพราะมีมีฟันขึ้นมา อันนี้คุณแม่ไปอ่านเจอมาเทคนิคง่ายๆ ตัวช่วยลดอาการปวดเหงือก คือ

- ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กๆแช่เย็น หรือ ชุบน้ำเย็นมาเช็ดหรือนวดตามเหงือกและฟัน
- ผลไม้แช่เย็นก็ช่วยได้
(แต่ไม่ใช่น้ำแข็งนะค่ะ เดี๋ยวลูกน้อยมีอาการไข้ขึ้นสูงมากกว่าเดิมอีก)
- ใช้เจลทาเหงือก กรณีน้องมิลินคุณแม่ใช้ Bonjela มีขายตามร้านขายยาทั่วไป
- ยางกัดเด็กเอาไปแช่เย็นแล้วมาให้ลูกน้อยกัดเล่นค่ะ
- หากลูกน้อยยังงอแงใช้ยาพาราเซตามอน(ควรคำนวณปริมาณยากับน้ำหนักน้อง)สอบถามเภสัชกรตามร้านค้ายาได้เลยค่ะ



      การเช็ดตัวลดไข้ให้มีประสิทธิภาพ

        อุปกรณ์

1. กะละมัง


2. ฟองน้ำ หรือ ผ้าขนหนูผืนเล็ก


3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่


        ขั้นตอนและวิธีปฎิบัติ

- สผมน้ำให้มีอุณภูมิที่พอเหมาะอย่าให้เย็นหรือร้อนจนเกินไป

- ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กหรือฟองน้ำชุบน้ำ เช็ดตรงบริณใบหน้าก่อนอันดับแรก ลงมาลำตัว แขน ขา เน้นบริเวณ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ พักผ้าไว้บริเวณหน้าผาก เพื่อให้ระบายความร้อนเพราะบริเวณดังกล่าวเป็นจุดรวมของเส้นเลือดสามารถระบายความร้อนได้ดี

- เปลี่ยนผ้าเช็ดชุบน้ำบ่อยๆ

- เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัว ต้องเช็ดย้อนรูขุมขน

- ตอนที่คุณแม่เช็ดตัวให้ลูก ควรออกแรงให้เหมือนถูตัวให้ลูก จะทำให้เส้นเลือดและรูขุมขนขยายตัว เลืดลมเดินดีอีกด้วยนะค่ัะ

- ในช่วงจังหวะที่เช็ดตัวลูกน้อยเรามีอาการหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดทันทีเพราะอาจทำให้มีไข้ขึ้นสูงได้

- อย่าเช็ดตัวเกิน 10-15 นาที

-หลังเช็ดตัว ใช้ผ้าผืนใหญ่ซับตัวลูกน้อยให้แห้ง ทาครีม ทาแป้ง สวมเสื้อผ้าสบายๆ

***ถ้าไข้ยังไม่ลด ควรรีบพาลูกน้อยพบแพทย์ ***

ขอบคุณข้อมูล www.kapook.com

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การดูแลผิวลูกน้อย



    การดูแลผิวบอบบางของลูกน้อย


ธรรมชาติของทารกแรกเกิดจะมีผิวบอบบางกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า และมีเซลล์ผิวหนังที่มีความเหนียวแน่นกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นผิวของลูกน้อยจึงไวต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างมาก อีกทั้งยังไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับ เชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสต่างๆได้ จึงทำให้เกิด ผด ผืน รอยแดง และอักเสบได้ง่ายมากจริงๆ การดูแลผิวพรรณลูกน้อยตั้งแต่เนินๆเราคุณแม่ทั้งหลายควรให้ความสำคัญกันนะค่ะ

     เลือกผลิตภัณฑ์สำหรับลูก


เริ่มดูแลตั้งแต่ สุขอนามัยการใช้ชีวิต เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมอ่อนละมุน สูตรไฮโป-แอลเลอร์เจนิกที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เกิดการแพ้ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ทั้งครีมอาบน้ำ ยาสระผม โลชั่นบำรุงผิว และแป้งเด็ก  เพื่อป้องกันการแพ้สารเคมีต่างๆของลูกน้อยของเรา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สำหรับเด็กโดยเฉพาะนะค่ะ เพราะถ้าลูกน้อยเราเกิดมีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมขึ้นมา อาจส่งผลร้ายเกินกว่าที่เราคิดนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดทรมานทางร่างกาย ยังส่งผลกระทบทางจิตใจ และพัฒนาการของลูกน้อยเราอีกด้วย เราพ่อแม่ไม่ควรละเลยควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของลูกน้อยเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่รับรองความปลอดภัยสำหรับเด็ก ส่วนใหญ่แล้วจะระบุฉลากไว้ชัดเจน ว่าสำหรับเด็กและเด็กทารก  เช่น สูตร NO MORE TEARS®
BABY HEAD-TO-TOE®   BEST FOR BAB

   การอาบน้ำ


การอาบน้ำให้ลูก ควรอาบน้ำด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่อุ่นหรือร้อนเกินไป ไม่ควรอาบน้ำนานเกิน 10-15 นาที (ความรู้พื้นฐานของคุณพ่อคุณแม่) ในวันที่มีอากาศหนาวเย็นควรอาบน้ำให้ลูกแค่วันล่ะครั้ง และควรเป็นช่วงเวลาบ่าย ถ้าจะให้ดีขั้นตอนการเตรียมน้ำหรือผสมน้ำคุณแม่ควรเทเบบี้มายออยลงไปด้วยนะคะผิวลูกน้อยจะได้ไม่แห้ง หลังอาบน้ำควรทาโลชั่นบำรุงผิวทำครั้งนะค่ะ


หมั่นตัดเล็บ การตัดเล็บให้สั้นจะป้องกันไม่ให้ลูกเกาตัวเองจนถลอกและอาจเกิดเป็นแผลได้
เด็กควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในแสงแดดนานๆช่วงเวลา 10โมงเช้า ถึง 4โมงเย็น

เพียงเท่านี้ลูกน้อยก็จะมีสุขภาพผิวที่ดีสบายตัวไม่งอแง เราพ่อแม่ก็สบายใจ




ขอบคุณข้อมูล www.johnsonsbaby.co.th

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ไขที่ศีรษะลูก

     



 ไข   ปัญหาที่เกิดจากต่อมไขมันอักเสบของลูกน้อย 




คุณแม่หลายท่านคงสงสัย อาการต่อมไขมันผิดปกติส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน จะเกิดกับเด็กแทบจะทุกราย แต่จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ล่ะราย โดยอาการมักจะมีไขเป็นแผ่นสีขาวบนหนังศีรษะ คิ้ว หรือใบหู เด็กบางคนบางๆ เด็กบางคนหนาๆ พออาบน้ำหรือเช็ดเบาๆก็หลุดออก เวลาผ่านไปไม่นานก็ขึ้นมาอีก ทำให้คุณแม่หลายท่านเป็นกังวลกับปัญหา เรื่องไข 

     สาเหตุ  ต่อมไขมันอักเสบ


เกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่จำนวนมาก เกิดการอักเสบจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อยีสต์เล็ก (Pityrosporum ovale)   ซึ่งปกติจะอยู่ในรูขุมขนและกินไขมันและโปรตีนของผิวหนังเป็นอาหาร ผื่นจะมีลักษณะเป็น ขุยสีขาวหรือสีเหลืองหรือสะเก็ด กระจายทั่วศีรษะ โดยผม หรือ ขน ไม่ร่วงและอาจจะพบผื่นบริเวณใบหน้า หลังหู คิ้ว หน้าอกและตามซอกข้อพับ ขาหนีบ หรือบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วยได้อาการจะค่อยดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะต่อมไขมันจะเริ่มฝ่อลงเรื่อยๆ บางรายอาการจะหายเมื่ออายุ 3-6 เดือน แต่บางรายที่เป็นมากอาจใช้เวลานานกว่านั้น

     วิธีป้องกัน และ รักษาอาการ

ป้องกัน

โดยหลีเลี่ยงสิ่งรบกวนจากภายนอก เช่น สบู่ที่เป็นด่าง แสงแดด ความร้อน  ควรใช้น้ำเปล่าวหรือสบู่อ่อนสำหรับเด็กเป็นพิเศษ

รักษาอาการ

(น้องมิลินใช้ เบบี้ออยแล้วได้ผล)หรือ อาจใช้ น้ำมันมะกอก, น้ำมันมะพร้าวก็ได้ ชโลมหนังศีรษะทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้ซึมลึกถึงรากผม แล้วค่อยนำลูกไปสระผมตามปกติค่อยๆ ถูเบาๆ เพื่อให้คราบหลุดออก ที่สำคัญคือ คุณแม่อย่าเกานะคะ แค่ ลูบเบาๆก็หลุดออกแล้ว หากยังไม่หลุดก็ทำแบบเดียวกันในวันถัดไปเรื่อยๆเดี๋ยวน้องก็หายค่ะ อาการต่อมไขมันอักเสบสำหรับเด็กทารกอาจเกิดขึ้นกับทุกคน โดยจะเป็นปื้นบริเวณกว้างหรือคล้ายผดผืนแต่จะเป็นสีเหลืองๆ ตาม ศรีษะ ใบหู หรือ ตามคิ้วของลูกน้อย

ปัญหา ไขที่ศีรษะลูก คุณแม่ควรทำตามคำแนะนำข้างต้น  หากไม่มั่นใจให้พบแพทย์ อย่าซื้อยาทาเองเนื่องจากยาทาเชื้อราส่วนมากมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากทาบ่อยๆหรือทามากเกินอาจเป็นอันตรายได้
**ส่วนในกรณีของน้องมิลิน คุณแม่ใช้คัตเติ้ลบัต หรือสำลีจุ่มเบบี้ออยเช็ดตรงบริเวณที่เป็นไข และเทเบบี้ออยผสมในน้ำอุ่นที่จะอาบให้น้องทุกวัน ไม่เกิน 1 เดือน น้องก็หายเป็นปกติค่ะ











ขอบคุณขอมูล
www.eucerin.co.th
www.d-wclinic.com