วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

ลูกน้อยเป็นไข้ตัวร้อน



ลูกน้อยตัวร้อนเป็นไข้


                เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไม่อยากเจอกับเหตุการณ์นี้ คือลูกน้อยเป็นไข้ตัวร้อน เด็กที่มีไข้จะมีอาการไม่สาบายตัว พอไม่สบายตัวลูกน้อยก็งอแง ร้องไห้ เอาล่ะสิค่ะเราพ่อแม่ก็ไม่เป็นอันทำอะไร ทั้งเป็นห่วงลูก สงสารลูก สารพัดคนเป็นพ่อเป็นแม่จะวิตกกังวล ดังนั้นเราพ่อแม่ควรมีความรู้เบื้องต้นเตรียมตัวรับมือเวลาลูกน้อยไม่สบาย อย่างที่คุณพ่อคุณแม่คงรู้ดี การป้อนยาและการวัดไข้เด็กนั้นยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน จะเลือกวิธีการวัดไข้เด็กแบบไหนถึงจะดี ก็ขึ้นอยู่กับอายุ และความร่วมมือของเด็กแต่ละคน เด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน การวัดไข้ทางก้นจะแม่นยำที่สุด เครื่องวัดแบบวัดทางหูไม่แนะนำให้ใช้เพราะว่าหูลูกยังเล็กมากอยู่ เด็ก อายุระหว่าง 3 เดือน – 4 ขวบ แนะนำให้ใช้เครื่องวัดแบบวัดทางก้น หรือ ทางหู คุณพ่อคุณแม่สามารถวัดไข้จากใต้รักแร้ก็ได้ แต่ความแม่นยำจะน้อยกว่า

                เด็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป แนะนำให้ใช้เครื่องวัดแบบดิจิทัลวัดอุณหภูมิจากทางปาก ถ้าเด็กยอมทำ อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีอาการไอ หรือ หายใจทางปากเพราะคัดจมูก อาจจะไม่สามารถใช้เครื่องวัดได้นานพอที่จะวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ ในกรณีนี้ก็คงต้องวัดผ่านทางหู หรือ ใต้รักแร้แทนก็ได้ค่ะ

**ในกรณีของน้องมิลิน น้องตัวร้อนเป็นไข้เพราะฟันน้ำนมขึ้นมีไข้ในระดับต่ำ ตัวก็ไม่ร้อนมากน้องงอแงบ้างเป็นบางช่วงเวลา อาจเนื่องมาจากความเจ็บปวดของเหงือกเพราะมีมีฟันขึ้นมา อันนี้คุณแม่ไปอ่านเจอมาเทคนิคง่ายๆ ตัวช่วยลดอาการปวดเหงือก คือ

- ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กๆแช่เย็น หรือ ชุบน้ำเย็นมาเช็ดหรือนวดตามเหงือกและฟัน
- ผลไม้แช่เย็นก็ช่วยได้
(แต่ไม่ใช่น้ำแข็งนะค่ะ เดี๋ยวลูกน้อยมีอาการไข้ขึ้นสูงมากกว่าเดิมอีก)
- ใช้เจลทาเหงือก กรณีน้องมิลินคุณแม่ใช้ Bonjela มีขายตามร้านขายยาทั่วไป
- ยางกัดเด็กเอาไปแช่เย็นแล้วมาให้ลูกน้อยกัดเล่นค่ะ
- หากลูกน้อยยังงอแงใช้ยาพาราเซตามอน(ควรคำนวณปริมาณยากับน้ำหนักน้อง)สอบถามเภสัชกรตามร้านค้ายาได้เลยค่ะ



      การเช็ดตัวลดไข้ให้มีประสิทธิภาพ

        อุปกรณ์

1. กะละมัง


2. ฟองน้ำ หรือ ผ้าขนหนูผืนเล็ก


3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่


        ขั้นตอนและวิธีปฎิบัติ

- สผมน้ำให้มีอุณภูมิที่พอเหมาะอย่าให้เย็นหรือร้อนจนเกินไป

- ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กหรือฟองน้ำชุบน้ำ เช็ดตรงบริณใบหน้าก่อนอันดับแรก ลงมาลำตัว แขน ขา เน้นบริเวณ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ พักผ้าไว้บริเวณหน้าผาก เพื่อให้ระบายความร้อนเพราะบริเวณดังกล่าวเป็นจุดรวมของเส้นเลือดสามารถระบายความร้อนได้ดี

- เปลี่ยนผ้าเช็ดชุบน้ำบ่อยๆ

- เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัว ต้องเช็ดย้อนรูขุมขน

- ตอนที่คุณแม่เช็ดตัวให้ลูก ควรออกแรงให้เหมือนถูตัวให้ลูก จะทำให้เส้นเลือดและรูขุมขนขยายตัว เลืดลมเดินดีอีกด้วยนะค่ัะ

- ในช่วงจังหวะที่เช็ดตัวลูกน้อยเรามีอาการหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดทันทีเพราะอาจทำให้มีไข้ขึ้นสูงได้

- อย่าเช็ดตัวเกิน 10-15 นาที

-หลังเช็ดตัว ใช้ผ้าผืนใหญ่ซับตัวลูกน้อยให้แห้ง ทาครีม ทาแป้ง สวมเสื้อผ้าสบายๆ

***ถ้าไข้ยังไม่ลด ควรรีบพาลูกน้อยพบแพทย์ ***

ขอบคุณข้อมูล www.kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น